ข่าวสารภาควิชาคณิตศาสตร์

เชิญชวนนิสิตและคณาจารย์ที่สนใจทุกท่านเข้าร่วมในกิจกรรมการเสวนา หัวข้อ  "คณิต ฯ พิชิตตลาดงาน ในยุคดิจิทัล" โดยวิทยากรศิษย์เก่า
เชิญชวนนิสิตและคณาจารย์ที่สนใจทุกท่านเข้าร่วมในกิจกรรมการเสวนา หัวข้อ  "คณิต ฯ พิชิตตลาดงาน ในยุคดิจิทัล" โดยวิทยากรศิษย์เก่า

เชิญชวนนิสิตและคณาจารย์ที่สนใจทุกท่านเข้าร่วมในกิจกรรมการเสวนา หัวข้อ  "คณิต ฯ พิชิตตลาดงาน ในยุคดิจิทัล" โดยวิทยากรศิษย์เก่า

มาร่วมเป็นครอบครัว MATH SWU กันนน 🔮 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ เปิดรับสมัครผู้เข้าศึกษาต่อในระดับชั้นปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2567 จำนวน 10 ที่นั่ง
มาร่วมเป็นครอบครัว MATH SWU กันนน 🔮 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ เปิดรับสมัครผู้เข้าศึกษาต่อในระดับชั้นปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2567  จำนวน 10 ที่นั่ง

มาร่วมเป็นครอบครัว MATH SWU กันนน 🔮 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ เปิดรับสมัครผู้เข้าศึกษาต่อในระดับชั้นปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2567 จำนวน 10 ที่นั่ง

ขอแสดงความยินดีกับคุณครูศิษย์เก่าของภาควิชาคณิตศาสตร์ที่ได้รับรางวัลเนื่องในวันครูแห่งชาติ 16 มกราคม 2567
ขอแสดงความยินดีกับคุณครูศิษย์เก่าของภาควิชาคณิตศาสตร์ที่ได้รับรางวัลเนื่องในวันครูแห่งชาติ 16 มกราคม 2567

ขอแสดงความยินดีกับคุณครูศิษย์เก่าของภาควิชาคณิตศาสตร์ที่ได้รับรางวัลเนื่องในวันครูแห่งชาติ 16 มกราคม 2567

ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมฟังการนำเสนอเค้าโครงปริญญานิพนธ์ การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์
ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมฟังการนำเสนอเค้าโครงปริญญานิพนธ์ การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์

ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมฟังการนำเสนอเค้าโครงปริญญานิพนธ์ การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์

RSS
1345678910Last

ข่าวสารคณะวิทยาศาสตร์

ดร.ดวงแข บุตรกูล นักวิจัย มศว เพิ่มมูลค่าอัญมณี ด้วยเทคโนโลยีเครื่องไอออน แห่งแรกของโลก

Author: Montawan/Monday, December 14, 2015/Categories: ผลงาน, ผลงานบุคลากร

         

          ดร.ดวงแข บุตรกูล นักวิจัย มศว เพิ่มมูลค่าอัญมณี ด้วยเทคโนโลยีเครื่องไอออน แห่งแรกของโลก


          ดร.ดวงแข บุตรกูล และคณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เจ้าของงานวิจัยที่สร้างความตื่นตัวแก่วงการอุตสาหกรรมการค้าและการส่งออก ของตลาดอัญมณีไทยรวมทั้งแวดวงวิชาการ เรื่อง การพัฒนาคุณภาพอัญมณีโดยเทคโนโลยีเครื่องเร่งลำอนุภาค โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งล่าสุดได้รับการคัดเลือกให้จัดแสดงเผยแพร่ภายในนิทรรศการงานแถลงผลงาน ครบรอบ 1 ปีของคณะรัฐบาล ซึ่งได้รับความสนใจเยี่ยมชมและให้กำลังใจจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรีตลอดจนนักวิจัย นักวิชาการ กลุ่มผู้ค้าผู้ประกอบการ ตลอดวันที่ 23-25 ธันวาคม 2558 ณ ทำเนียบรัฐบาล
ดร.ดวงแข อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป สาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ คณะวิทยาศาสตร์ มศว นักวิจัยเจ้าของผลงาน เปิดเผยว่า “งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพพลอยตระกูลคอรันดัม โดยใช้เครื่องเร่งลำไอออน เป็นการอาศัยพลังงานจากกลไกการพุ่งชนของไอออนที่กำหนดเข้าไปกระตุ้นโดย ปราศจากความร้อนสูง ทำให้เพิ่มความใสสะอาดและสามารถเพิ่มหรือลดสีของพลอยได้ตามที่ตลาดต้องการ โดยไม่มีการทำลายโครงสร้างหรือผิวพลอย


          งานวิจัยนี้นอกจากจะเป็นการศึกษาในแง่วิชาการที่เกี่ยวกับอันตรกิริยา ระหว่างไอออนที่มีพลังงานจลน์กับระบบผลึกที่มีความซับซ้อนสูงแล้ว ยังมุ่งหวังเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นแห่งแรกของโลก จนได้รับการกล่าวถึงในรายงานของสถาบัน GIA ประเทศสหรัฐอเมริกาว่าเป็นเทคนิคใหม่ที่น่าสนใจ

 
          ในกรณีที่พลอยทับทิม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือพบว่าการเกิดไอออนเหนี่ยวนำของไอออนออกซิเจนและ ไนโตรเจน เกิดปฏิกิริยา Oxidation-Reduction ของธาตุโลหะทรานซิซั่น ทำให้พลอยทับทิมใสขึ้น ลดมลทิน (inclusion) ที่อยู่ภายใน โดยไอออนออกซิเจนและไนโตรเจนเหนี่ยวนำทำให้ได้พลอยทับทิมที่มีสีออกม่วงสวย งาม และพลอยมีสีแดงเข้มมากขึ้นตามลำดับ สำหรับพลอยสีน้ำเงิน (blue sapphire) สามารถยิงไอออนเพื่อเพิ่มหรือลดสีน้ำเงินได้ด้วยการยิงไอออนไนโตรเจนหรือ ออกซิเจนไปที่พลอยสีน้ำเงินปนเขียวที่ตลาดไม่นิยม ให้เปลี่ยนเป็นน้ำเงินเข้มสดได้โดยการใช้ไอออนกระตุ้นให้คู่ธาตุเหล็กและ ไทเทเนียมที่ให้สีเหลือง เปลี่ยนเป็นให้สีน้ำเงิน และพลอยสีขาวขุ่น สามารถทำให้ใสขึ้นได้โดยการสลายมลทินขนาดเล็กด้วยลำไอออน ซึ่งเมื่อนำมาเจียระไนแล้วสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องประดับทดแทนเพชรได้ มูลค่าจึงสูงขึ้น

          เรานำตัวอย่างงานมาจัดแสดงด้วยคือชิ้นงานที่เรียกว่า พลอยแกมเพชร เป็นนวัตกรรมและเหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบพลอยสังเคราะห์ก็ขอแนะนำให้เลือกพลอย ไทย พลอยสีขาวที่ผ่านกระบวนการยิงไอออนแล้วก็มีรูปลักษณ์และมีมูลค่าเทียบเคียง ได้กับเพชรเลยทีเดียว คือเราสามารถเปลี่ยนอัญมณีที่ดูไม่มีค่า คล้ายก้อนหินก้อนกรวดขี้เหร่ๆ ให้กลายเป็นเครื่องประดับที่มีคุณค่ามีราคา ก่อนทำกับหลังทำจะเป็นคนละอย่างกันเลย เราใช้อัญมณีพวก sapphire ซึ่งเป็นพวกตระกูลราคาแพง เหมาะสมกับการเพิ่มมูลค่า เราได้พลอยราคาถูกมาเราก็ไปลงทุนกับเครื่องมือ การที่เราไปหาพลอยอยู่เรื่อยๆ ก็ไม่มีมากอยู่แล้ว แต่ว่าเราก็จะไปลงทุนที่เครื่องมือ มันแพง ก็ได้ผลลัพธ์เหมือนกัน

         (อ่านข่าวเพิ่มเติม)

ขอขอบคุณ -ข่าวประชาสัมพันธ์
ภัทรพร หงษ์ทอง / ข่าว-ภาพข่าว
ศูนย์สารสนเทศและการประชาสัมพันธ์


 

 

          สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มช. ร่วมกับสาขาวิชาวัสดุศาสตร์ (อัญมณีและเครื่องประดับ) คณะวิทยาศาสตร์ มศว ผลิตเครื่องยิงไอออนเข้าสู่พลอยอัญมณี เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับพลอยได้สำเร็จเป็นแห่งแรกของโลก โดยไม่ผ่านกระบวนการเผา และใช้เวลาทำน้อยกว่าเดิมสามเท่าตัว

 

(ขอบคุณข่าวจากเว็บไซต์เดลินิวส์ : http://www.dailynews.co.th/article/367010)

Print

Number of views (9682)/Comments (0)

สารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา

สารสนเทศเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียน

สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหาร

 

     

     

     

     

     

   จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

Provided by OpenSpeedtest.com

ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
114 สุขมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร 026495622

Department of Mathematics, Faculty of Science
Srinakharinwirot University
114 Sukhumvit 23, Bangkok, 10110, Thailand. Tel  026495622